ss คุณลักษณะสำคัญของผู้นำที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ 9 ประการ - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

คุณลักษณะสำคัญของผู้นำที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ 9 ประการ

วันนี้ผมได้นำบทความดี ๆ สำหรับการพัฒนาตนเองเพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จในการทำงาน ประสบความสำเร็จในธุรกิจ หรืออาชีพที่กำลังทำอยู่ นำเอาไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ และพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองให้ดียิ่งขึ้น 


อาชีพเสริมการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้นำ

การส่งเสริมและพัฒนาทางด้านความเป็นผู้นำของตนเอง ย่อมมีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจอย่างมาก ซึ่งทักษะในเรื่องของผู้นำที่สำเร็จทางธุรกิจนั้นไม่ได้มีติดตามมาตั้งแต่เกิด เป็นทักษะความเคยชินหรือการสร้างขึ้นด้วยตนเอง เป็นทักษะที่พัฒนาได้ สำหรับนักธุรกิจใหม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี สำหรับคุณลักษณะ 9 ประการสำหรับผู้นำที่สำเร็จทางธุรกิจประกอบไปด้วย

1. นักคิด (Thinker) นักคิดที่มีวุฒิภาวะจะเข้าใจปัญหาอย่างรวดเร็ว สามารถอธิบายให้ผู้อื่นฟังได้และตัดสินใจอย่างมีสติและเหตุผล พัฒนาทักษะนี้ด้วยการไม่กระโจนเข้าสู่บทสรุป หาคำแนะนำ และทำงานร่วมกับผู้อื่น จะชอบคิดวิเคราะห์โลกรอบๆตัว และชอบคิดมากกว่าลงมือปฏิบัติเอง

2. นักกิจกรรม (Activistis) จะเป็นผู้นำที่เก่งในด้านการสร้างกลุ่มพลังร่วมระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง มองโลกในแง่ดีและมีเชื่อมั่นในตนเองค่อนข้างสูง ทุ่มเทให้กับการทำกิจกรรมแต่อาจหุนหันพลันแล่นไปบ้าง เน้นสร้างผลงานให้มีปริมาณเยอะมากกว่าคุณภาพ พัฒนาคุณสมบัตินี้ด้วยการฟังคนอื่นให้มากๆ คิดให้เข้าประเด้นลงรายละเอียด และเรียนรู้ที่จะปฏิเสธให้เป็น

3. ผู้ผลักดัน (Impeller man) มักมีลักษณะเด่นที่คุณสมบัตินี้ เป็นผู้ชอบสั่งการ สามารถทำให้อะไรๆ ดีขึ้นโดยการสร้างจากความเชื่อมั่นในตัวเองที่มากเพียงพอกระตุ้น พวกเขาจะเป็นผู้นำในทุกเรื่องทุกสถานการณ์ แม้กระทั่งการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน แต่ผู้นำที่มีวุฒิจะข่มอารมณ์ได้ปล่อยให้คนอื่นชนะบ้าง ทำงานร่วมกับคนบ้าง

4. ผู้นิยมความสมบูรณ์ (The popularity integity) จะเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมมากที่สุด เพราะมีจริยธรรมในการตัดสินใจถูกผิดได้ดีพวกนี้มักชอบวิจารณ์ตนเองและผู้อื่น มักติดอยู่กับความจริงเสมอ การพัฒนาทักษะด้านนี้คือการเรียนรู็จะหากิจกรรมที่สร้างหรือกระตุ้นให้เกิดความผ่อนคลายไม่เครียด ฟังผู้อื่นมากขึ้น

5. ผู้ช่วยเหลือ (Savior) ผู้ที่คิดถึงความรู้สึกของคนอื่นมากกว่าคิดถึงตนเอง เป็นคุณสมบัติที่แท้จริงของผู้นำที่สำเร็จทางธุรกิจ และเป็นผู้ให้แนวทางการทำงานและการทำงานที่ดี เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ให้คนจำนวนมากสนใจ เคารพยกย่อง และเป็นที่รัก สำหรับทักษะที่จะพัฒนาคือการคิดมากขึ้นกว่าเดิม ในด้านที่อยากให้คนชื่นชอบตัวเองในด้าน และอย่าสั่งการ ออกคำสั่งและควบคุมมากจนเกินไป

6. ผู้พิพากษา (Judge) เน้นในเรื่องของความเป็นจริงเป็นผู้ที่เปิดกว้างมากที่สุดของผู้นำทุกด้าน การพยายามหาหนทางให้คนอื่นมาทำงานร่วมกัน มีสิทธิหน้าที่ การปฏิบัติงานในลักษณะที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงไม่ให้เกิดการเอนเอียงหรือการฝักใฝ่ฝ่ายใด พัฒนาทักษะนี้โดยการฟังอย่างละเอียด ตั้งใจ ใช้หลักของเหตุและผลเป็นองค์ประกอบเพื่อใช้วินิฉัยให้เกิดความเท่าเทียมกัน

7. ผู้ตาม (Follower) การเป็นผู้ตามที่ดีย่อมสามารถสร้างทีมงานที่เกิดความเข้มแข็งได้ ความร่วมมือ บางครั้งอาจจะดูเหมือนจะเป็นผู้นำที่สำเร็จทางธุรกิจที่ไม่ได้หวังในเรื่องของตำแหน่ง คุณสมบัตินี้ทำให้ดูเหมือนมีความเข้มแข็งขึ้นได้ด้วยการยอมรับหน้าที่ความรับผิดชอบ และอย่าเครียดเพราะการที่ต้องตามใจผู้อื่น

8. ผู้ให้ความบันเทิง (Entertainer) ได้รับความเคารพชื่นชอบจากผู้อื่น จากการที่เป็นผู้นำที่สร้างและกระตุ้นให้คนอยากทำตาม ทำงานอย่างหนัก มุ่งมั่น ทุ่มเท และสามารถเอาชนะใจของผู้อื่น สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมากในเรื่องของการเปลี่ยนไปมาง่าย ไม่อยู่กับร่องกับรอย พูดเกินจริง และมองตนเป็นคนสำคัญเสมอ และพยายามเอาชนะอยู่ตลอดเวลา

9. ศิลปิน (Artist) มีความคิดใหม่ๆมีความคิดสร้างสรรค์ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถในการดึงเอาจุดเด่นจุดแข็งให้ออกมาได้ ถ้ามีมากเกินไปจะคิดถึงตนเองน้อยไปเพราะมัวแต่ครุ่นคิดในเรื่องของคนอื่น การพัฒนาทักษะนี้คือการพยายามหลีกเลี่ยงการคิดมาก การผลัดวันประกันพรุ่ง มุ่งเน้นในการสร้างข้อบังคับ สร้างวินัยในตัวเองให้มากอย่างขึ้น

คุณลักษณะทั้ง 9 ประการนี้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้นำที่ต้องการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ 

สนใจสมัครเข้าร่วมธุรกิจ join&coin ที่>> http://bit.ly/VlQp81

หรือติดต่อเข้าร่วมธุรกิจกับผมโดยตรงที่ 084-8105547 (รัชพงศ์)

ติดตามผมได้ที่ https://www.facebook.com/Im.rutchapong



ไปหน้าแรก  อาชีพเสริมทำเงิน


ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top